ง่วงเหงาหาวเหมือนไม่ได้นอน..นอนครบ 8 ชั่วโมง แต่ยังง่วง ตื่นมาไม่สดชื่น เป็นเพราะอะไร แก้ไขอย่างไรดี?
ทำไมนอนครบ 8 ชั่วโมง แต่ยังง่วงอยู่? ในช่วงเวลาที่เรานอนหลับ ร่างกายของเราจะเข้าสู่วงจรของการหลับ ซึ่งหากการนอนของเราอยู่ในระยะหลับตื้น และไม่ได้เข้าสู่ระยะหลับลึกหรือ Deep Sleep ก็อาจจะทำให้เราตื่นมาแล้วรู้สึกนอนไม่เต็มอิ่มหรืออ่อนเพลีย เมื่อก่อนมนุษย์เราจะเข้านอนเมื่อฟ้าเริ่มมืด และตื่นเมื่อแสงสว่างของพระอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้า แต่ปัจจุบันมีสิ่งกระตุ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ความเครียดสะสม แสงจากหน้าจอมือถือ ที่อาจจะก่อให้เกิดการกระทบต่อวงจรการนอน ส่งผลไปถึงการพักผ่อนได้ไม่เพียงพอ
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
Toggle
สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้รู้สึกเพลีย ถึงแม้จะนอนครบ 8 ชั่วโมง
1. ความเครียดและความวิตกกังวล
ความเครียดและวิตกกังวลเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของปัญหาสุขภาพ ที่ส่งผลต่อการนอนของผู้คนในปัจจุบัน
2. สาเหตุที่มาจากความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับ
หลายคนอาจจะไม่รู้ตัวว่าในขณะที่เรานอนหลับ อาจจะเกิดภาวะผิดปกติบางอย่าง เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งขัดขวางวงจรการนอน เกิดการนอนกรน หากพบว่าส่งกระทบผลต่อสุขภาพตัวเองและคนรอบข้าง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษา
3. เข้านอนและตื่นนอนไม่เป็นเวลา จนกระทบนาฬิกาชีวิต
ร่างกายของเราสามารถจดจำตารางการใช้ชีวิตของเราได้ หากเป็นสมัยก่อนก็จะจดจำจากแสงของพระอาทิตย์ขึ้นและตก เมื่อฟ้ามืดลงจึงเป็นช่วงเวลาที่มนุษย์เราเข้าสู่ช่วงของการนอนหลับ แต่ปัจจุบันด้วยความที่มีสิ่งกระตุ้นต่างๆ มากมาย ทำให้กระทบเวลานอนของเราไปด้วย จะสังเกตได้ว่าช่วงที่เรานอนดึกตื่นสายเป็นเวลาติดต่อกัน เมื่อกลับมานอนเร็วตื่นเช้า เราจะรู้สึกว่าหลับได้ยาก หรืออยู่ในสภาวะหลับๆ ตื่นๆ จนเหมือนกับนอนไม่พอถึงแม่จะนอนจนครบ 8 ชั่วโมงก็ตาม
แต่ละช่วงอายุ ควรนอนกี่ชั่วโมงกันแน่ ถึงจะเพียงพอ
- เด็กแรกเกิด – 3 เดือน : 14-17 ชั่วโมง
- ทารก 4-11 เดือน : 12-15 ชั่วโมง
- เด็กเล็ก 1-2 ขวบ : 11-14 ชั่วโมง
- เด็กอนุบาล 3-5 ปี : 10-13 ชั่วโมง
- เด็กประถม 6-13 ปี : 9-11 ชั่วโมง
- วัยรุ่น 14-17 ปี ” 8-10 ชั่วโมง
- ผู้ใหญ่ 18-64 ปี : 7-9 ชั่วโมง
- ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป : 7-8 ชั่วโมง
วิธีปรับพฤติกรรมการนอน ให้การนอนเกิดคุณภาพ ตื่นมาแล้วไม่เพลีย
- เข้านอนและตื่นให้เป็นเวลาทุกวัน เพื่อให้ร่างกายจดจำและคุ้นชินกับเวลานอน/เวลาตื่น จะช่วยสร้างวงจรการนอนหลับที่ดีได้มากยิ่งขึ้น
- เว้นการรับประทานอาหารประมาณ 2-4 ชม. ก่อนนอน เพื่อให้ร่างกายมีเวลาได้ย่อยอาหารก่อนนอน
- หยุดกิจกรรมที่จะกระตุ้นการทำงานของความคิด หรือทำให้ร่างกายตื่นตัว เช่น การเช็คอีเมล การเล่นโทรศัพท์ การออกกำลังกาย
- สร้างสภาวะผ่อนคลายให้ร่างกาย เมื่อเข้านอนให้เราฝึกกำหนดลมหายใจเข้าออก ผ่อนคลายร่างกายด้วยการจินตนาการว่าเราปิดสวิตช์การทำงานร่างกายแต่ละส่วน ตั้งแต่ คอ แขน ขา มือ เท้า ปลดปล่อยร่างกายให้รู้สึกเบาสบายมากที่สุด
- การบำบัดแบบ CBT-I หรือ Cognitive Behavioral Therapy for Insomnia หรือ การบำบัดรักษาโรคนอนไม่หลับด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการนอน เพิ่มทักษะของการผ่อนคลาย ปรับวงจรการนอนให้เหมาะกับพฤติกรรมของเรา และนอนให้ครบ 8 ชม. โดยคนที่ง่วงนอนเร็วและตื่นเช้า ควรเริ่มนอนเวลา 22.00-23.00 น. ตื่นประมาณ 06.00-07.00 น. และ คนที่นอนดึกตื่นสาย ควรนอนประมาณ 01.00-02.00 น. ตื่นนอนเวลา 09.00-10.00 น.
- กลิ่น เสียง แสง ส่งผลต่อการนอน สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการนอนที่มีคุณภาพ ควรจะเป็นห้องนอนที่ไม่มีเสียงรบกวน ไม่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์รบกวน และเป็นห้องที่มืดสนิท เพื่อให้ร่างกายเข้าสู่สภาวะหลับลึกได้ดีขึ้น
- ที่นอนก็สำคัญ ที่นอน คือหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่จะช่วยให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น ต่อให้สภาพแวดล้อมการนอนดีแต่หากที่นอนไม่ช่วยซัพพอร์ตให้นอนสบายขึ้นก็อาจจะส่งผลให้เกิดการนอนที่ไม่ได้คุณภาพ การเลือกที่นอนควรเลือกแบบที่ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการนอนได้ส่วนตัวได้ เช่น ถ้าเป็นคนหลับยากและตื่นง่ายถ้าคนข้างๆ ขยับพลิกตัว ควรหาที่นอนที่ช่วยซัพพอร์ตหรือลดแรงสั่นสะเทือนได้ดี หรือหากมีปัญหาเกี่ยวกับการปวดหลัง ที่นอนควรช่วยซัพพอร์ตเรื่องการรองรับสรีระได้ดี
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ทาง Facebook Fanpage : Lunio