วิธีจัดวาง “ที่นอน” อย่างไร ไม่ให้กินพื้นที่ในห้อง
หนึ่งในปัญหาของการแต่งห้องนอนเล็กๆ คือพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการวางเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ โดยเฉพาะที่นอน ทำให้หลายคนเลือกที่จะซื้อที่นอนแบบ 3.5 ฟุต เพราะรู้สึกว่าประหยัดพื้นที่ได้มากกว่า แต่สำหรับใครที่อยากนอนสบายๆ ความจริงแล้วเราสามารถเลือกใช้ที่นอนที่ใหญ่กว่านั้นได้ อย่างเช่นที่นอนขนาด 5-6 ฟุต เพียงแค่ใช้เทคนิคการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ให้ประหยัดพื้นที่ โดยการจัดวางที่นอนแบบเข้ามุม เพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ภายในห้องและลดความอึดอัดทึบตันซึ่งมุมห้องที่ดีที่สุดคือพื้นที่ที่ไม่ได้อยู่ติดกับประตูห้อง โดยเว้นระยะรอบเตียงหรือที่นอนไว้ประมาณ 60 cm. ขึ้นไป เพื่อให้เดินได้สะดวก ไม่เตะขอบเตียงหรือข้าวของ และเลือกเตียงนอนที่สามารถจัดเก็บของใช้จุกจิกได้
แนวทางแต่งห้องนอนเล็กๆ ตามหลัก HUMAN SCALE
1.ห้องนอนทั่วไปที่อยู่สบายควรใช้พื้นที่ประมาณ 18-24 ตารางเมตร ขึ้นอยู่ขนาดของเฟอร์นิเจอร์ภายในห้อง
2.ควรเว้นทางเดินข้างเตียงควรกว้างอย่างน้อย 60 เซนติเมตร เพื่อสะดวกต่อผู้ใช้งานหากต้องการลุกไปเข้าห้องน้ำในเวลากลางคืน
3.หัวเตียงควรเป็นผนังทึบเพื่อความรู้สึกปลอดภัยในการพักผ่อน
ขนาดความห่างของการจัดวางโทรทัศน์ให้พอดีกับสรีระ
- ขนาดหน้าจอ 26 นิ้ว ระยะห่างทีวี ที่เหมาะสมคือ 1 เมตร
- ขนาดหน้าจอ 32 นิ้ว ระยะห่างทีวี ที่เหมาะสมคือ 1.25 เมตร
- ขนาดหน้าจอ 42 นิ้ว ระยะห่างทีวี ที่เหมาะสมคือ 1.60 เมตร
- ขนาดหน้าจอ 50 นิ้ว ระยะห่างทีวี ที่เหมาะสมคือ 1.90 เมตร
- ขนาดหน้าจอ 52 นิ้ว ระยะห่างทีวี ที่เหมาะสมคือ 2 เมตร
- ขนาดหน้าจอ 60 นิ้ว ระยะห่างทีวี ที่เหมาะสมคือ 2.20 เมตร
“ผังห้องแบบหน้ากว้าง” เป็นตัวเลือกที่ดีกว่า “ผังห้องแบบหน้าแคบ”
แนวทางแต่งห้องนอนเล็กๆ ที่ช่วยลดความอึดอัดทึบตันอีกวิธีคือการเลือกผังห้องก็เป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อความอึดอัดของผู้อยู่อาศัย ถึงแม้ในกรณีที่ห้องจะมีขนาดพื้นที่เท่ากัน เช่น ขนาดพื้นที่ 21 ตรม. กลับพบว่าผังห้องที่มีรูปแบบหน้ากว้าง ส่งผลให้ผู้ที่อยู่อาศัยอึดอัดน้อยกว่าผังห้องที่มีรูปแบบหน้าแคบ การจัดห้องของผังห้องรูปแบบนี้สามารถทำได้หลากหลาย แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดที่ควรเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่มีขนาดเล็กใหญ่คละกัน เพื่อลดทอนความเป็นกล่องของผังห้องแบบหน้ากว้างหรือสีเหลี่ยม และไม่ควรกั้นห้องแบบก่อกำแพงปิดกั้น เพราะจะทำพื้นที่ซึ่งน้อยอยู่แล้วยิ่งคับแคบมากกว่าเดิม
เลือกจัดวางเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ให้เข้ามุม/ชิดผนัง
เลือกเฟอร์นิเจอร์ที่จำเป็นต่อการใช้งาน และจัดวางเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นชิ้นใหญ่ๆ เอาไว้ตรงส่วนที่ชิดผนังหรือเข้ามุม เพิ่มลูกเล่นด้วยการเชื่อมต่อพื้นที่แต่ส่วนเข้าด้วยกัน ให้ดูเป็นสัดส่วน แต่ภาพรวมดูกลมกลืน เช่น กั้นระหว่างพื้นที่พักผ่อนนอนหลับ กับพื้นที่นั่งเล่นชิลๆ ด้วยโซฟา หรือเลือกโต๊ะทำงานแบบตัว L และวางในส่วนพื้นที่ข้างที่นอน ก็จะช่วยกั้นแยกสัดส่วนที่เป็นโซนทำงาน กับพื้นที่พักผ่อนได้
จัดระเบียบของใช้จิปาถะ
- หนึ่งในสิ่งที่ทำให้บ้านรกคือของจิปาถะ ดังนั้น จึงควรคัดแยกหมวดหมู่ของใช้จิปาถะ
- ใช้กล่องจัดระเบียบสีใสในการคัดแยกสิ่งของเพื่อให้ง่ายต่อการมองเห็น เช่น สมุดจด กุญแจ รีโมทต่างๆ ก่อนจะนำไปจัดวางในลิ้นชัก หรือเก็บไว้ในที่ที่เราจะหยิบใช้ได้ง่าย
- ใช้กล่องในการใส่ของใช้ที่ซื้อมาตุนไว้ เช่น ครีมบำรุงผิว สบู่อาบน้ำ เก็บใส่ตู้ให้เรียบร้อย
- ทฤษฎีการความกลมกลืน
การใช้หลักการเลือกสีแบบกลมกลืน คือการเลือกโทนสีที่อยู่ในวงจรสีใกล้เคียงกัน การใช้โทนสีเดียวแต่ไล่ระดับโทนเข้มไปโทนสว่าง ไล่ระดับความสดกับความหม่น หรือเลือกใช้สีวรรณะเดียวกัน เช่น สีน้ำเงิน-ฟ้า-เทาอ่อนอมฟ้า (โทนเย็น),ส้ม-เหลืองอ่อน-น้ำตาลอมส้ม (โทนร้อน) ซึ่งหลักการใช้จิตวิทยาสีแบบกลมกลืนมีข้อดีคือทำให้ห้องดูเป็นมู้ดแอนด์โทนเดียวกัน
- ทฤษฎีการความขัดแย้ง
การใช้หลักการความขัดแย้งของคู่สี หรือความ contrast คือการใช้สีที่เป็นคู่ตรงข้ามกันเพื่อสร้างมิติหรือความโดดเด่น การเลือกใช้สีโทนร้อนคู่กับสีโทนเย็น ตัวอย่างเช่น สีฟ้ากับสีส้ม สีน้ำเงินกับสีแดง ซึ่งหลักการใช้จิตวิทยาสีแบบสร้างความขัดแย้ง จะทำให้ห้องดู
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
เครียด นอนไม่หลับ ทำไงดี? วิธีรับมือกับความเครียดจากการทำงาน ทริคในการทำความเข้าใจและเยียวยาจิตใจ