ช้อปที่นอนใหม่รับซัมเมอร์ เพื่อเติมเต็มความสบายให้คุณในหยุดยาวนี้ กับไอเทมลดสูงสุดกว่า50% ลดเพิ่มสูงสุดกว่า 1,000 บาท* วันนี้ – 27 เมษายน 2567 นี้เท่านั้น
logonew
ตะกร้าสินค้า

No products in the cart.

Return To Shop
0.00฿ 0
ระยะเวลาโปรโมชั่น 3.3 Mega Sale
วัน
ชั่วโมง
นาที
วินาที

ใครเลิกงานดึก นอนไม่เป็นเวลาจนร่างพังฟังทางนี้ Lunio มีทริคดีๆช่วยคุณได้ด้วยที่นอนสุขภาพ

งานดึก

กลุ่มคนที่ชอบลุกขึ้นมาทำงานดึกๆ หรือถูกขอบเขตงานบังคับให้ต้องทำงานเป็นกะ มักจะเจอปัญหาสุขภาพได้ง่ายกว่ากลุ่มคนที่ทำงานตามเวลาปกติ (ช่วงกลางวัน) เพราะทำงานไม่ตรงกับนาฬิกาชีวิตของร่างกายตามธรรมชาติ จนอาจส่งผลเกิดปัญหาต่อร่างกายในระยะยาว ด้วยความห่วงใยจาก Lunio จึงตั้งใจหยิบเทคนิคการพักผ่อนและเลือกที่นอนเพื่อสุขภาพให้ตอบโจทย์คนทำงานดึกหรือทำงานเป็นกะมาฝากกัน

ปัญหาจากการทำงานดึกหรือทำงานเป็นกะ

ไม่ใช่แค่ความเหงาจากการที่เราต้องทำงานเวลาไม่ตรงกับใคร แต่เพราะการทำงานดึกหรือทำงานเป็นกะมีโอกาสที่ชีวิตจะขาดสมดุล โดยเฉพาะในเรื่องเวลาการพักผ่อน ช่วงเริ่มต้นอาจเพียงแค่อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ แต่ลองนึกภาพดูว่า นี่เป็นเพียงไม่กี่วันในช่วงเวลาสั้นๆ ที่คุณหันมาทำงานดึกหรือทำงานกะ แล้วถ้าระยะยาวล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น? งานวิจัยหลากหลายฉบับยืนยันว่า กลุ่มคนที่ทำงานดึกหรือทำงานเป็นกะ มักมีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคบางประเภทได้ง่ายกว่าคนทั่วไปที่ทำงานตามนาฬิการ่างกาย เช่น โรคหัวใจ สมองเสื่อม กล้ามเนื้อร่างกายหรือดวงตาเมื่อยล้าหนัก ไปจนถึงโรคประจำตัวเรื้อรังทวีความรุนแรงหนักขึ้น หรือเกิดภาวะ ‘นอนไม่หลับ’ ฯลฯ เลยจำเป็นต้องใส่ใจเรื่องการพักผ่อนและการเลือกที่นอนเพื่อสุขภาพมากขึ้น

งานกะดึก ที่นอนเพื่อสุขภาพ เทคนิค

6 เทคนิคการพักผ่อนสำหรับชาวทำงานดึก/ทำงานเป็นกะ

เพราะการทำงานดึก หรือ ทำงานเป็นกะ อาจส่งผลกระทบระยะยาว Lunio เลยขอเก็บเทคนิคการพักผ่อน เพื่อรักษาสุขภาพดีมาบอกต่อ เผื่อใครจะลองหยิบไปทำตาม ดังนี้

1) จัดกิจวัตรเข้านอนเป็นประจำ

ปัญหาเรื่องการนอนหลับของคนกลุ่มนี้คือ นาฬิกาชีวิต(ร่างกาย)ผิดเพี้ยน ทำให้บางทีก็เลื่อนเวลานอนไปเรื่อยหรือถึงขั้นผ่านเกินวันก็นอนไม่หลับ เรื่องแรกที่ควรทำคือ ฝึกเข้านอนจัดกิจวัตรให้เป็นระเบียบประจำสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายจดจำได้ว่า เวลาเข้านอนคือกี่โมงและควรจะตื่นเมื่อไหร่ถึงจะพักผ่อนบนที่นอนเพื่อสุขภาพได้ครบตามที่ร่างกายต้องการ

2) ปรับบรรยากาศให้ร่างกายรู้ว่า ‘นี่คือเวลานอน’

หลายปัจจัยที่ทำให้ร่างกายรู้เวลาไม่ว่าจะ แสง (แสงสีฟ้าในดวงอาทิตย์ทำให้ร่างกายตื่นตัว), อากาศร้อน (เสมือนตื่นมาพบกับแดดอุ่นในยามเช้า), เสียง (พยายามให้เงียบหรือใช้เสียงธรรมชาติอย่างฝนตก) ฯลฯ เพื่อปรับบรรยากาศให้ร่างกายเข้าใจว่า ใกล้ถึงเวลาเข้านอนได้แล้ว และป้องกันการรบกวนจากสิ่งรอบข้างในยามกลางวัน ก่อนล้มตัวลงนอนบนที่นอนเพื่อสุขภาพ

3) เลี่ยงอาหารบางประเภท

หิวไปก็นอนไม่หลับ อิ่มไปก็จุกจนต้องลุกมานั่ง เพราะงั้นก่อนถึงเวลาพักอย่าลืมเลี่ยงอาหารหนักท้องและกลุ่มคาเฟอีนก่อนเข้านอนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง แม้ว่า คาเฟอีนจะเป็นสิ่งที่คอยอยู่เคียงข้างระหว่างทำงานดึกก็ตาม

4) หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนเวลาทำงานไปมา

ไม่ว่าจะกลุ่มฟรีแลนซ์ กลุ่มทำงานดึก หรือมีกะให้เปลี่ยนเวร อย่าปล่อยให้การทำงานเหล่านี้เกิดการเปลี่ยนเวลากลับไปมาบ่อยๆ เพราะจะทำให้ร่างกายที่เหมือนจะชินต้องวนกลับมาเริ่มใหม่ทำให้เกิดปัญหานอนไม่หลับเรื้อรัง

5) มองหาไอเทมช่วยตอบโจทย์การนอนหลับ

ปัจจุบันมีไอเทมพร้อมช่วยเพิ่มโอกาสให้นอนหลับได้อย่างผ่อนคลายสบายกายและหลับลึกได้มากขึ้น เสริมสร้างการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ แม้ว่าจะนอนไม่เป็นเวลาหรือชั่วโมงการนอนลดลงกว่าปกติเล็กน้อย เช่น Room Spray กลิ่นอโรม่า, ที่นอนเพื่อสุขภาพทำจากยางพาราหรือเมมโมรี่โฟม ฯลฯ

6) พบแพทย์

ถ้าเลยจุดที่ตัวเองไม่สามารถดูแลแก้ไขปัญหาการนอนหลับด้วยตัวเองได้แล้ว อาจถึงขั้นต้องปรึกษากับจิตแพทย์หรือใช้ยาตามแผนการรักษาเลยทีเดียว เป็นไปได้ก็อย่าลืมรีบดูแลด้วยตัวเองก่อนมาถึงจุดนี้ล่ะ!

งานกะดึก ที่นอนเพื่อสุขภาพ

เลือกที่นอนเพื่อสุขภาพให้เหมาะกับการทำงานดึก/ทำงานเป็นกะ

อย่างที่บอกไปแล้วว่า ที่นอนเพื่อสุขภาพก็เป็นอีกสิ่งที่ช่วยให้ร่างกายของเหล่าคนทำงานดึกหรือทำงานเป็นกะสามารถช่วยให้หลับได้ผ่อนคลายสบายกายและหลับลึก ส่งเสริมสุขภาพการนอนหลับได้เป็นอย่างดี ดังนี้

1) รองรับสรีระได้ตามหลักสรีระศาสตร์

ด้วยความที่คนทำงานเป็นกะหรือทำงานดึกจะเป็นการทำงานแบบฝืนนาฬิการ่างกายเลยทำให้รู้สึกร่างกายเหนื่อยล้าและปวดเมื่อย ตึงเครียดตามส่วนต่างๆ ได้ง่ายกว่าปกติ เพราะงั้นเรื่องแรกที่ควรใส่ใจคือ ที่นอนเพื่อสุขภาพต้องรองรับสรีระได้ตามหลักสรีระศาสตร์ กระจายแรงกดดี ป้องกันการกดทับจนอาจเกิดการปวดเมื่อยตามตัว ไม่สามารถฟื้นฟูจากความเหนื่อยล้าได้

2) สบายผิวตลอดคืน

คงไม่ดีแน่ หากที่นอนเพื่อสุขภาพให้ความนุ่มที่สบายกาย แต่ระคายเคืองผิว เพราะจะทำให้เกิดความรำคาญใจไปจนถึงผิวพังได้เลย เพราะงั้นต้องเลือกให้สบายผิว ลดโอกาสระคายเคือง ก็จะลดความตึงเครียดของผิวและกลามเนื้อบางส่วนไปได้พอสมควร

3) สัมผัสเย็นผิวถึงยามตื่น

อีกเรื่องที่ไม่ควรพลาดคือ ความเย็นสบาย ก็เหมือนกับนอนห้องร้อนกับห้องแอร์ ใครๆ ก็เลือกห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ เพราะให้ความเย็นสบายผิว หมดปัญหาสะสมอุณหภูมิความร้อนขณะนอนหลับจนปวดหัว เพลียตัว โดยเฉพาะสภาพอากาศร้อนของไทยในช่วงกลางวันที่อาจทำให้คุณถึงขั้นนอนไม่หลับต้องลุกมาอาบน้ำเลยล่ะ

อย่าลืมนำเทคนิคที่ Lunio นำมาฝากในบทความนี้ไปใช้กันดูนะ แล้วจะรู้ว่า แม้พบกับอุปสรรคเรื่องเวลาเข้านอนก็สามารถสร้างการนอนหลับแบบมีคุณภาพได้ แต่ถ้ากำลังมองหาที่นอนเพื่อสุขภาพตอบโจทย์ทุกความต้องการของชาวทำงานดึกหรือทำงานเป็นกะ เพื่อพบกับประสบการณ์นอนหลับและสุขภาพดีกว่าที่เคย อย่าลืมนึกถึง Lunio ตัวจริงที่รู้ใจคนใส่ใจการนอนหลับโดยเฉพาะ!

บทความคลังความรู้อื่น ๆ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า