ช้อปที่นอนใหม่รับซัมเมอร์ เพื่อเติมเต็มความสบายให้คุณในหยุดยาวนี้ กับไอเทมลดสูงสุดกว่า50% ลดเพิ่มสูงสุดกว่า 1,000 บาท* วันนี้ – 27 เมษายน 2567 นี้เท่านั้น
logonew
ตะกร้าสินค้า

No products in the cart.

Return To Shop
0.00฿ 0
ระยะเวลาโปรโมชั่น 3.3 Mega Sale
วัน
ชั่วโมง
นาที
วินาที

สภาวะการนอนหลับแบบไหน ถึงเรียกได้ว่า ‘นอนหลับอย่างมีคุณภาพ’

สภาวะการนอนหลับ

เคยถามตัวเองกันมั้ยว่า ทุกวันนี้การนอนหลับของตัวเองเป็นอย่างไรบ้าง? ส่วนใหญ่ที่เราเคยเจอมักจะตอบกันว่า “ก็ปกติดี” แต่พอถามต่อว่า “ปกติยังไง” หลายคนที่ไม่เคยสัมผัสกับที่นอนยางพาราก็มักจะตอบไม่ได้ ไปไม่เป็นเลยว่า ควรจะตอบยังไง เพราะบางทีนอนหลับแบบเมื่อยล้าตื่นมาไม่เฟรช แต่แค่ได้นอนให้สายตาได้พักบ้าง แม้จะหลับๆ ตื่นๆ เหมือนคืนอื่นที่เคยเป็นก็คิดในใจว่า “นี่ก็ปกติของฉันแล้วไง” นี่จึงเป็นเหตุผลที่ LUNIO อยากชวนคุณมาดูว่า สภาวะการนอนหลับแบบไหนถึงเรียกได้ว่า นอนหลับอย่างมีคุณภาพที่แท้จริง

สภาวะการนอนหลับ

คำนิยามของ ‘การนอนหลับอย่างมีคุณภาพ’

‘อย่าลืมนอนให้ครบ 8-10 ชั่วโมง’ ประโยคแฝงความห่วงใยที่เราเจอกันในแทบทุกบทความสุขภาพ แต่สำหรับคำนิยามของ การนอนหลับอย่างมีคุณภาพ แค่จำนวนชั่วโมงไม่สามารถสะท้อนถึงคุณภาพการนอนหลับได้ เพราะหากนอนหลับๆ ตื่นๆ หรือรู้สึกไม่สดชื่น ปวดเมื่อย เหนื่อยล้า เหมือนร่างกายไม่ได้พักผ่อนเต็มที่ แม้จะนอนครบ 8-10 ชั่วโมงก็ไม่สามารถพูดว่า นอนหลับอย่างมีคุณภาพ ได้เช่นกัน เพราะงั้นการนอนหลับที่ดี ควรมีครบทั้งปริมาณและคุณภาพตามวงจรหลับ 3 ระยะ (หลับตื้น-หลับลึก-หลับฝัน) และร่างกายภายในผ่อนคลายจากความเมื่อยล้า ด้วยการพักผ่อนบนที่นอนเพื่อสุขภาพอย่างที่นอนยางพารา

สภาวะการนอนหลับ

สภาวะร่างกายขณะหลับแบบไหนถึงจะดี?

นอกจากการวัดด้วยชั่วโมงนอนหลับและความรู้สึกหลังตื่นนอนแล้ว หากจะวัดคุณภาพการนอนหลับแบบจริงจัง ยังสามารถเช็คได้จากสภาวะร่างกายขณะหลับ ดังนี้

1.ออกซิเจนในเลือด

American Sleep Apnea Association (AASM) เผยว่า ระดับออกซิเจนในเลือดขณะนอนหลับควรอยู่ที่ประมาณ 95% ขึ้นไป และ Visalistics ยังกล่าวอีกว่า หากต่ำกว่า 90% มีโอกาสเสี่ยงเกิดภาวะขาดออกซิเจนได้เลย (ยิ่งความเข้มข้นของออกซิเจนน้อยมากเท่าไหร่ ยิ่งเสี่ยงเกิดภาวะขาดออกซิเจนมากขึ้นเท่านั้น) และออกซิเจนในเลือดขณะนอนหลับไม่ควรต่ำกว่าขณะตื่น เพราะปกติแล้ว ร่างกายจะสามารถหายใจได้ลึกสูดออกซิเจนเข้าเต็มปอดได้ดีสุดก็ตอนหลับนี่แหละ หากเจอว่า กำลังมีปัญหาออกซิเจนในเลือดขณะนอนหลับต่ำกว่า 95% อาจจะต้องมานอนคิดแล้วว่า เกิดจากอะไร เช่น สภาพแวดล้อม ภาวะสุขภาพ โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ผลข้างเคียงของยา ฯลฯ แล้วค่อยปรับแก้ให้ตรงกับสาเหตุ 

2. ความดันโลหิต

เมื่อถึงเวลาเข้านอนให้ร่างกายได้พักผ่อนความดันโลหิตของคนเราก็จะเริ่มลดลงประมาณ 10-20% แล้วอยู่กับที่ไม่ค่อยขึ้นลงบ่อยๆ เท่าไหร่ แต่หากความดันโลหิตของคุณขณะนอนหลับไม่คงที่ ไม่ว่าจะขึ้นหรือลงแทบไม่นิ่งตลอดคืน Jichi Medical University ได้เผยผลงานวิจัยว่า ความดันโลหิตที่ไม่ยอมนิ่งขึ้นลงตลอดเวลามีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดในสมองมีปัญหาสูงขึ้นกว่า 18% และความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวเพิ่มขึ้น 25% โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ค่าซิสโตลิกขณะนอนหลับเพิ่มสูงขึ้น 20 มิลลิเมตรปรอท ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงเกิดภาวะผิดปกติเกี่ยวกับระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจมากกว่าปกติ (แต่ขึ้นเล็กน้อยไม่เป็นไร เพราะร่างกายอาจกำลังขับโซเดียมที่คุณบริโภคไปในตอนกลางวันทำให้ความดันขึ้นบ้างนิดหน่อย) หรือใครที่กำลังใช้ยาปรับระดับความดันก็อาจจะเป็นผลข้างเคียงที่ต้องปรึกษากับแพทย์ดูว่า ปกติหรือไม่ 

3. กล้ามเนื้อ

ในส่วนของกล้ามเนื้ออาจจะวัดยาก แต่คนทั่วไปอาจสามารถสัมผัสได้จากความตึงเครียด อาการบาดเจ็บ หรือแม้แต่ความปวดเมื่อยที่ลดน้อยลงหลังจากหลับแล้วตื่นมาในเช้าวันใหม่ หากคุณได้หลับลึกบนที่นอนยางพารา (หลับระดับ 3) ฮอร์โมนสำคัญที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตจะถูกผลิตออกมาเพื่อฟื้นฟูและซ่อมแซมส่วนสึกหรอ ทว่าหากนอนหลับไม่เพียงพอหรือนอนหลับแบบไม่มีคุณภาพ จะสัมผัสได้เลยว่า ตื่นเช้ามายังรู้สึกตึง เจ็บ หรือเมื่อยอยู่ อาจถึงขั้นปวดเรื้อรังได้เหมือนกัน

4. ดวงตา

หากใครบอกว่า นอนแล้วแต่คุณยังเห็นว่า เหมือนดวงตาจะขยับไปมาใต้เปลือกตาที่ปิดลง นั่นเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะวงจรการนอนหลับของคนเราจะมีแบบ NREM ซึ่งเป็นช่วงหลับสนิท ดวงตาจะหลับสนิท หายใจนิ่งมากขึ้นและแบบ REM ซึ่งเป็นช่วงหลับฝัน สมองจะยังคงทำงานไปเรื่อยๆ ไม่ต่างจากตอนตื่น ทำให้ร่างกายบางส่วนขยับเหมือนตอนตื่น อย่างลมหายใจมีถี่บ้างช้าบ้างไม่สม่ำเสมอ และลูกตายังคงกรอกไปมา โดยการนอนที่ดีควรมีการนอนทั้ง 2 แบบสลับไปมา โดยรอบการนอน 1 รอบจะใช้เวลาประมาณ 90 นาที ประกอบด้วย Non-REM ประมาณ 80 นาทีและ REM อีก 10 นาที และการนอนอย่างมีคุณภาพ ในหนึ่งคืนควรจะมีจำนวนรอบการนอนประมาณ 3-6 รอบ

การนอนที่ดีไม่ใช่แค่หลับตาให้ครบจำนวนชั่วโมงที่ใครๆ แนะนำ แต่ควรเป็นการพักผ่อนให้ร่างกายอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมจนตัวคุณสัมผัสและวัดได้ ด้วยที่นอนยางพาราเหนือระดับกว่าท้องตลาดทั่วไปอย่าง LUNIO Gen 3 ด้วย เทคโนโลยี เมมโมรี่โฟมทรงคลื่น 33 โซน ระบายอากาศได้ดี 30X และ Lunio Diamond Fusion ช่วยโอบรับทุกสรีระและทุกท่วงท่าขณะนอนหลับตามหลักสรีรศาสตร์ ให้สภาวะร่างกายอยู่ในระดับที่เหมาะกับคำว่า ‘นอนหลับอย่างมีคุณภาพ’ พร้อมสัมผัสเย็นสบาย ไร้แรงสั่นสะเทือน แล้วคุณจะรู้ว่า การนอนหลับเพื่อสุขภาพไม่ใช่เรื่องไกลเกินเอื้อม

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ทาง Facebook Fanpage : Lunio

อ้างอิง

https://www.bangkokinternationalhospital.com/th/health-articles/health-tips/how-to-get-quality-sleep

https://www.sleepon.us/spo2/

https://www.vitalistics.com/sleep-related-hypoxemia-and-its-treatment/

https://www.webmd.com/stroke/news/20201102/beware-of-blood-pressure-changes-at-night

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า