ช้อปที่นอนใหม่รับซัมเมอร์ เพื่อเติมเต็มความสบายให้คุณในหยุดยาวนี้ กับไอเทมลดสูงสุดกว่า50% ลดเพิ่มสูงสุดกว่า 1,000 บาท* วันนี้ – 27 เมษายน 2567 นี้เท่านั้น
logonew
ตะกร้าสินค้า

No products in the cart.

Return To Shop
0.00฿ 0
ระยะเวลาโปรโมชั่น 3.3 Mega Sale
วัน
ชั่วโมง
นาที
วินาที

โรคนอนไม่หลับ ภัยร้ายที่มีความอันตรายมากกว่าที่คุณคิด!

โรคนอนไม่หลับ อันตราย

“นอนพลิกไปพลิกมาอยู่บนที่นอน ทำอย่างไรก็ไม่หลับซักที” ปัญหานอนไม่หลับนี้หากมองแบบผิวเผินแล้วมันก็คงจะไม่ได้มีความน่ากลัวหรือดูเป็นโรคที่ร้ายแรงอะไรเท่าไหร่นัก แต่! ตามหลักทางการแพทย์แล้ว เราขอบอกเลยว่าปัญหานอนไม่หลับหรือโรคนอนไม่หลับ คือภัยร้ายที่มีความอันตรายต่อร่างกายของคนเราเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากมันจะทำให้ร่างกายของคุณอ่อนเพลียแล้ว มันยังเป็นต้นตอของโรคร้ายที่จะตามมาอีกมากมายเลยทีเดียว ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกถึงสาเหตุที่ทำให้คุณนอนไม่หลับ พร้อมกับข้อมูล(ลับ) ที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเด็นนี้กัน! 

โรคนอนไม่หลับ ต้องรู้

ประเภทของโรคนอนไม่หลับที่คุณต้องรู้! 

สำหรับโรคนอนไม่หลับนั้น สามารถแบ่งได้หลายประเภทโดยจะแบ่งตามลักษณะของอาการของผู้ป่วย ซึ่งเราได้สรุปออกมาเป็น 5 ประเภทหลักๆ ดังนี้ 

1.Initial insomnia 

คือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีปัญหานอนหลับยากใช้เวลานอนนานกว่าจะหลับ 

2.Maintinance insomnia 

คือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีการตื่นกลางดึกเป็นประจำ ไม่สามารถนอนหลับยาวได้เหมือนคนปกติ 

3.Terminal insomnia

คือ ภาวะที่ผู้ป่วยตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่น ส่งผลให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ 

4.Chronic insomnia

คือ ภาวะที่ผู้ป่วยนอนไม่หลับเรื้อรัง (มีอาการนอนไม่หลับอย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ และเป็นมาไม่ต่ำกว่า 3 เดือน)

5.Adjustment insomnia

คือ ภาวะที่ผู้ป่วยนอนไม่หลับจากการปรับตัว อาทิเช่น นอนแปลกที่ เปลี่ยนที่นอนใหม่ ประสบกับปัญหาที่ทำให้วิตกกังวล ฯลฯ ซึ่งเมื่อผู้ป่วยสามารถปรับตัวได้หรือเกิดความสบายใจ อาการนอนไม่หลับก็จะหายไปและกลับมานอนหลับได้ตามปกติ 

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับ

1.ปัญหาสภาพแวดล้อมของห้องนอน อาทิเช่น ห้องนอนสว่างมากเกินไป มีเสียงดังรบกวน อุณหภูมิของห้องที่ไม่เหมาะสม ที่นอนไม่มีคุณภาพแข็งหรือนิ่มจนเกินไปทำให้รู้สึกไม่สบายตัว เป็นต้น 

2.มีปัญหาความเครียดสะสม 

3.มีภาวะเจ็บป่วยทางร่างกาย(จนไม่สามารถนอนหลับได้)

4.การใช้ยาหรือสารบางชนิดก่อนเข้านอน อาทิเช่น ยากลุ่ม Psudoepheridrine, ยาแก้หอบหืด, ยาต้านอาการซึมเศร้า หรือแม้แต่การดื่มชา กาแฟ และสูบบุหรี่ก่อนเข้านอน

5.มีสภาวะทางจิตใจที่ไม่ปกติ อาทิเช่น ภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า 

6.มีความกังวลว่าจะนอนไม่หลับ(Psychophysiological insomnia) ซึ่งผู้ที่ประสบกับสาเหตุนี้จะมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหานอนไม่หลับเป็นทุนเดิม จนทำให้ร่างกายเกิดการตื่นตัวจนไม่สามารถหลับได้นั่นเอง 

7.การตั้งครรภ์หรือเข้าสู่ช่วงวัยทอง

8.ปัญหานอนไม่เป็นเวลา เนื่องจากทำงานเป็นกะ(Shift work) อาทิเช่น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย พยาบาล เป็นต้น 

โรคนอนไม่หลับ ประจำ

ผลเสียต่อร่างกายเมื่อนอนไม่หลับติดต่อกันเป็นประจำ

เมื่อไหร่ที่ร่างกายของคุณนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เราขอบอกเลยว่านอกจากอาการง่วงซึม ความรู้สึกไม่สดใสและประสิทธิภาพการทำงาน(ของสมอง)จะลดลงแล้ว มันยังมีผลเสียต่อร่างกายอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น…

1.เสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายเรื้อรัง อาทิเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น

2.เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ โดยได้มีการศึกษาและวิจัยว่าในคน 1,240 คน มีคนที่นอนน้อยกว่า 6 ชม. ถึง 47% จะมีอาการของมะเร็งลำไส้ มากกว่าคนที่นอนหลับอย่างน้อย 7 ชม.ขึ้นไป ดังนั้นการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอจึงอาจจะทำให้คุณเป็นเจ้าโรคร้ายนี้ได้ในอนาคต 

3.หัวใจอ่อนแอ 

4.เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ 

5.ระบบภายในร่างกายรวน อาทิเช่น ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ การถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลา ลำไส้ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เป็นต้น 

6.เสี่ยงต่อการที่สมรรถภาพทางเพศจะเสื่อม เนื่องจากการที่คุณนอนไม่หลับนั้นจะส่งผลให้ฮอร์โมน “เทสโทสเทอโรน” ต่ำลง ซึ่งนั่นก็จะทำให้ความต้องการทางเพศลดลงไปด้วย 

7.อารมณ์ของคุณจะไม่คงที่ โลกดูไม่สดใส ทุกอย่างรอบๆ ตัวดูหม่นหมอง 

8.เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า 

9.สมองอ่อนล้า ตัดสินใจเรื่องต่างๆ ได้ช้าลง กระบวนการคิดวิเคราะห์แย่ลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งแน่นอนว่าสาเหตุมาจากสมองไม่ได้พักผ่อนนั่นเอง 

10.กลิ่นกายตามจุดต่างๆ แรงขึ้น 

โรคนอนไม่หลับ ยา

ยานอนหลับสามารถบรรเทาโรคนอนไม่หลับได้ไหม ? 

คำตอบของคำถามในข้อนี้คือ “ได้” แต่! หากใช้ยานอนหลับติดต่อกันเป็นเวลานาน เราก็คงต้องพูดอย่างตรงไปตรงมาว่ามันไม่ใช่เรื่องที่ดีต่อร่างกายของเราอย่างแน่นอน หรือเรียกง่ายๆ ว่ามันอาจะเป็นอันตรายต่อร่างกายของเราเสียด้วยซ้ำ ไม่ว่าจะเป็น… 

1.อาการดื้อยานอนหลับ จนต้องเพิ่มปริมาณในการกินแต่ละครั้ง

2.ติดยานอนหลับ ถ้าหากไม่กินจะมีอาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย 

3.เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

4.เสี่ยงต่อการเป็นอัลไซเมอร์

5.เสี่ยงต่อสภาวะระบบหายใจล้มเหลว(อันตรายถึงชีวิต)

การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายนั้น ถือได้ว่าเป็นวิธีการดูแลตัวเองที่ง่ายมากที่สุด แต่ถ้าหากคุณกำลังประสบกับปัญหานอนไม่หลับคุกคามอยู่ คุณก็ลองพิจารณาว่าสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้คุณเป็นโรคนอนไม่หลับนั้นเกิดขึ้นมาจากอะไร ? เพื่อที่คุณจะได้แก้ไขหรือรักษาโรคดังกล่าวได้อย่างตรงจุด อีกทั้งเรื่องของที่นอนก็เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยทำให้การนอนหลับของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งที่นอนที่ดีควรรองรับสรีระของร่างกายได้ตรงตามหลักสรีรศาสตร์และสามารถระบายอากาศได้ดี ไม่เกิดการอับชื้นหรือร้อนอบอ้าวนั่นเอง!

บทความคลังความรู้อื่น ๆ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า