ช้อปที่นอนใหม่รับซัมเมอร์ เพื่อเติมเต็มความสบายให้คุณในหยุดยาวนี้ กับไอเทมลดสูงสุดกว่า50% ลดเพิ่มสูงสุดกว่า 1,000 บาท* วันนี้ – 27 เมษายน 2567 นี้เท่านั้น
logonew
ตะกร้าสินค้า

No products in the cart.

Return To Shop
0.00฿ 0
ระยะเวลาโปรโมชั่น 3.3 Mega Sale
วัน
ชั่วโมง
นาที
วินาที

เทียบให้ชัดแบบจัดเต็ม กับ ข้อดี – ข้อเสีย ของที่นอนเพื่อสุขภาพแต่ละประเภท!!

ประเภทของที่นอน ปก

เคยเป็นไหม? เสิร์ชคำว่า ‘ที่นอนเพื่อสุขภาพ’ ทีไร มีตัวเลือกขึ้นมาให้เลือกเต็มไปหมด ทั้งที่นอนยางพารา, ที่นอนเมมโมรี่โฟม, ที่นอนสปริง, ที่นอนใยมะพร้าว ฯลฯ พอจะตัดสินใจเลือกก็ดันเลือกไม่ถูก เพราะไม่มั่นใจว่า แตกต่างกันยังไงบ้าง บทความนี้ LUNIO จึงขอมาบอกต่อ ข้อดี – ข้อเสีย ของที่นอนสุขภาพแต่ละประเภทแบบเทียบให้ชัดจัดเต็มกันไปเลย

 

ที่นอนเพื่อสุขภาพ ที่นอนยางพารา

ที่นอนยางพารา

ที่นอนยางพาราปกติแล้วจะมีให้เลือก 3 แบบ คือ ที่นอนยางพาราธรรมชาติ, สังเคราะห์ และไฮบริดผสานกับวัสดุอื่น แต่ในบทความที่นอนนี้จะพูดถึงที่นอนยางพาราแท้จากธรรมชาติ 100%

ข้อดีของที่นอนยางพารา : ที่นอนยางพาราเพื่อสุขภาพประเภทนี้สามารถระบายอุณหภูมิความร้อนได้เป็นอย่างดี ไม่มีความรู้สึกอึดอัด หรือ นอนหลับไม่สบายตัว ด้วยความที่มีลักษณะยืดหยุ่นตัวสูงแบบไม่ต้องพึ่งสปริงเลยทำให้รองรับสรีระได้ดี เด้งกลับคืนสภาพอย่างรวดเร็ว จะน้ำหนักตัวเท่าไหร่หรือนอนท่าไหนก็ไม่เมื่อย พร้อมลดโอกาสสะสมเชื้อรา ไรฝุ่น และสารก่อภูมิแพ้ตามธรรมชาติ แถมการเลือกใช้วัสดุจากน้ำยางธรรมชาติ 100% ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีก

ข้อเสียของที่นอนยางพารา : ด้วยกระบวนการผลิตค่อนข้างซับซ้อนเลยอาจมีราคาสูง (แต่ถ้าเลือกดีๆ ก็ใช้ได้นานจนคุ้มค่าเลยเด้อ) และบางแบรนด์อาจใช้วัสดุสังเคราะห์มากกว่าวัสดุธรรมชาติทำให้ประสิทธิภาพการใช้งานทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร รวมถึงหากนำเข้าจากต่างประเทศทำให้ผ่านการผลิตมานานและการขนส่งบางขั้นตอนอาจส่งผลให้ที่นอนยางพาราเสื่อมสภาพได้

ประเภทของที่นอน เมมโมรี่โฟม

ที่นอนเมมโมรี่โฟม

ที่นอนเมมโมรี่โฟม เป็นที่นอนสุขภาพจากโฟมใยสังเคราะห์ที่ถูกคิดค้นโดย NASA เพื่อนำไปใช้ลดโอกาสบาดเจ็บหหากเกิดการกระแทกหรือกดทับจากแรงดันบนเครื่องบินอวกาศ

ข้อดีของที่นอนเมมโมรี่โฟม : อีกหนึ่งที่นอนสุขภาพยอดฮิต ด้วยคุณสมบัติรองรับสรีระได้ตามหลักสรีรศาสตร์ในทุกสภาวะแรงโน้มถ่วง หมดปัญหาปวดเมื่อยไม่สบายกายเพียงแค่ล้มตัวลงนอนก็หลับสบายได้ตลอดคืน มีการเด้งกลับคืนตัวได้ดีไม่มีปัญหาเรื่องยุบยวบง่าย จะพลิกตัวบ่อยแค่ไหนก็ไร้แรงสั่นสะเทือน คนข้างกายไม่ตื่นมาบ่นแน่นอน แถมยังไม่สะสมไรฝุ่น เชื้อโรค และอื่นๆ ที่อาจไปกระตุ้นภูมิแพ้ ให้ความนิ่มกว่าที่นอนยางพาราเล็กน้อย เหมาะกับคนที่มีปัญหาปวดเมื่อยเรื้อรังโดยเฉพาะ

ข้อเสียของที่นอนเมมโมรี่โฟม : ที่นอนเมมโมรี่โฟมเกรดตามท้องตลาดทั่วไปมักจะมีปัญหาในเรื่องของการสะสมอุณหภูมิความร้อนและกลิ่นเหมือนยางล้อรถ  เพราะทำจากโฟมสังเคราะห์ไร้รูระบายอากาศมาเป็นก้อนใหญ่ๆ ยิ่งไม่ได้ใช้ที่นอน เพื่อสุขภาพประเภทนี้ในห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศอาจทรมานจากความร้อนและรู้สึกอึดอัดไม่สบายตัวได้

ประเภทของที่นอน สปริง

ที่นอนสปริง

หากจะพูดถึงที่นอนเพื่อสุขภาพประเภทที่นอนสปริงอาจแยกย่อยออกได้อีกหลายประเภทเลย แต่ขอให้ลบภาพที่นอนสปริงบอนแนลล์แบบดั้งเดิมเพราะที่นอนประเภทนั้นถึงจะมีราคาถูกแต่สั่นสะเทือนง่าย และไม่รองรับสรีระเท่าไหร่ ทำให้ไม่ตอบโจทย์สุขภาพการนอนเอาซะเลย จึงอยากขอแนะนำที่นอนสปริงประเภทพ็อกเก็ตสปริง โครงสร้างจะต่างจากที่นอนสปริงรูปแบบเดิม โดยในส่วนของสปริงจะแยกออกจากกันอย่างอิสระไม่เกาะเกี่ยวกันแน่นเหมือนอย่างที่ผ่านมา

ข้อดีของที่นอนสปริง : ที่นอนสุขภาพประเภทนี้จะมีความยืดหยุ่นได้ไม่แพ้ที่นอนยางพารา สามารถกระจายแรงกดทับไปตามการสัมผัสกับสปริงแต่ละตัว และไม่ได้นิ่มยวบจนเกินไป เหมาะกับคนที่มีสรีระค่อนข้างแบนตรง จะโดดเด่นกว่าที่นอน เพื่อสุขภาพประเภทอื่นตรงที่โครงสร้างภายในโล่ง ไม่ทึบ สามารถระบายอากาศได้ดี เย็นสบายกว่า และอายุการใช้งานถือว่ายาวนานเลยทีเดียว

ข้อเสียของที่นอนสปริง : ที่นอนสปริงที่มีคุณภาพดีอาจมีราคาสูง เพราะโครงสร้างภายในจะซับซ้อนและวัสดุแข็งแรงทนทาน ในขณะที่ที่นอนสปริงราคาไม่สูงมากตามท้องตลาด หากใช้ไปนานๆ ที่นอนอาจยุบตัวทำให้สปริงโผล่มาสัมผัสหรือแทงผิวผู้ใช้งานได้ แถมอาจมีเสียงเอี๊ยดอ๊าดจากการเสียดสีของสปริงไปมาได้อีกด้วย

ประเภทของที่นอน ใยมะพร้าว

ที่นอนใยมะพร้าว

อีกหนึ่งที่นอนเพื่อสุขภาพจากธรรมชาติ กับ ที่นอนใยมะพร้าว ด้วยเส้นใยมะพร้าวที่ถูกคัดมาเฉพาะเส้นใยคุณภาพผ่านการไล่ความชื้นแล้วทอเป็นผืนมาอัดให้เป็นแผ่นหนาก่อนจะเสริมด้วยวัสดุอื่นบริเวณชั้นนอก เพื่อให้สัมผัสการนอนที่ดีของผู้ใช้งาน

  • ข้อดีของที่นอนใยมะพร้าว : ด้วยความที่เส้นใยมะพร้าวจะถูกอัดแน่นจนกลายเป็นแผ่นจึงทำให้ที่นอนประเภทนี้มีความหนาแน่นเรียบเนียนและทนทานสูง โอกาสยุบตัวค่อนข้างต่ำ เหมาะกับสรีระร่างกายแบนราบ นอนหงายหรือคว่ำตรงๆ
  • ข้อเสียของที่นอนใยมะพร้าว : แน่นอนว่า เส้นใยธรรมชาติที่ถูกอัดแน่นมักจะมีปัญหาในเรื่องของความแข็ง ไม่ยืดหยุ่น เลยทำให้ที่นอนประเภทนี้ไม่สามารถรองรับสรีระและท่าทางการนอนได้ดีเท่าที่ควร แถมพอใช้ไปนานๆ ก็มีโอกาสที่เส้นใยเหล่านี้จะหลุดลอกออก กลายเป็นแหล่งสะสมไรฝุ่นหรือตัวก่อภูมิแพ้ซะเองก็เป็นได้

เพราะบนโลกนี้ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบ แม้แต่ที่นอนสุขภาพจึงจำเป็นต้องเลือกให้ใกล้เคียงกับไลฟ์สไตล์และสุขภาพการนอนของตัวเองมากที่สุด แต่สำหรับใครที่ไม่อยากเสียเวลาต้องมานั่งเลือกว่าจะเลือกที่นอนแบบไหนดี ขอแนะนำ ที่นอนยางพารา LUNIO Gen 3 สุดยอดที่นอนไฮบริด ผสานระหว่าง ยางพาราธรรมชาติ, 33-Zone Marble Cool Memory Foam และ Graphene Stabilizer Base® รองรับทุกสรีระและทุกไลฟ์สไตล์การนอนหลับ พร้อมเทคโนโลยี Hyper Protective 3D Fabric ปรับอุณหภูมิให้สมดุลกับร่างกาย ผ่านการทดสอบโดย สถาบันชั้นนำระดับนานาชาติมากมาย รวมทุกข้อดีของที่นอนสุขภาพทุกประเภทไว้ในหนึ่งเดียว!

สนใจสามารถ ทดลองนอนได้ที่โชว์รูม Dreams Town ทั้ง 35 สาขา และดูโปรโมชั่นเพิ่มเติมได้ที่Facebook: LUNIO

 

บทความคลังความรู้อื่น ๆ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า