ช้อปที่นอนใหม่รับซัมเมอร์ เพื่อเติมเต็มความสบายให้คุณในหยุดยาวนี้ กับไอเทมลดสูงสุดกว่า50% ลดเพิ่มสูงสุดกว่า 1,000 บาท* วันนี้ – 27 เมษายน 2567 นี้เท่านั้น
logonew
ตะกร้าสินค้า

No products in the cart.

Return To Shop
0.00฿ 0
ระยะเวลาโปรโมชั่น 3.3 Mega Sale
วัน
ชั่วโมง
นาที
วินาที
เทียบสเปค-ข้อดี-ข้อเสีย-ของที่นอนแต่ละประเภท

เทียบสเปค ข้อดี-ข้อเสีย ของที่นอนแต่ละประเภท ควรซื้อที่นอนแบบไหนดี? ให้คุ้มค่าต่อการใช้งาน

เคยเป็นไหม? เสิร์ชคำว่า ‘ที่นอนเพื่อสุขภาพ’ ทีไร มีตัวเลือกขึ้นมาให้เลือกเต็มไปหมด ทั้งที่นอนยางพารา, ที่นอนเมมโมรี่โฟม, ที่นอนสปริง, ที่นอนใยมะพร้าว ฯลฯ พอจะตัดสินใจเลือกก็ดันเลือกไม่ถูก เพราะไม่มั่นใจว่า แตกต่างกันยังไงบ้าง บทความนี้ LUNIO จึงขอมาบอกต่อ ข้อดี – ข้อเสีย ของที่นอนแต่ละประเภทแบบเทียบให้ชัดจัดเต็มกันไปเลย

ข้อดี-ข้อเสีย-ของที่นอนแต่ละประเภท-ที่นอนยางพารา

ที่นอนยางพารา

ที่นอนยางพารา เป็นที่นอนที่เป็นผลผลิตจากยางพารา ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น ที่นอนยางพาราแบบอัด กับที่นอนยางพาราแท้จากธรรมชาติ 100% ซึ่งที่นอนยางพาราแบบอัดตัววัสดุผลิตขึ้นมาโดยนำยางพารามาผ่านกระบวนการอัด นำเศษยางพารามาผสมกันให้เป็นก้อนเดียวกัน ส่วนที่นอนยางพาราแท้ 100% ผลิตมาจากน้ำยางพาราแท้ธรรมชาติ ซึ่งมีความเข้มข้น นำไปผ่านกระบวนการวัดค่าความนุ่มหรือความแข็ง และแน่นอนว่าที่นอนยางพาราแท้100% ย่อมมีคุณสมบัติเรื่องความยืดหยุ่นสูง รองรับสรีระ และมีอายุการใช้งานที่ทนทานยาวนานมากกว่า

ข้อดีของที่นอนยางพารา

  • ด้วยความยืดหยุ่นสูง ทำให้ช่วยรองรับสรีระร่างกายได้ดี
  • ไม่ยุบเป็นแอ่ง เด้งกลับคืนสภาพได้อย่างรวดเร็ว
  • ไม่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อรา หรือไรฝุ่น
  • เนื้อยางจะเป็นอิสระต่อกัน ช่วยลดแรงสั่นสะเทือนขณะพลิกตัว
  • ไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ เหมาะอย่างยิ่งกับผู้เป็นภูมิแพ้
  • ช่วยซัพพอร์ตสรีระ ลดอาการปวดหลัง
  • ทนทาน อายุการใช้งานยาวนาน 10 ปี+

ข้อเสียของที่นอนยางพารา

  • กระบวนการผลิตค่อนข้างซับซ้อนเลยมีราคาสูง
  • ด้วยความหนาแน่นของวัสดุ เลยทำให้มีน้ำหนักมาก

ข้อดี-ข้อเสีย-ของที่นอนแต่ละประเภท-ที่นอนเมมโมรี่โฟม

ที่นอนเมมโมรี่โฟม

อีกหนึ่งวัสดุที่นิยมนำมาผลิตเป็นที่นอนก็คือ เมมโมรี่โฟม (Memory Foam) แรกเริ่มเมมโมรี่โฟมเป็นวัสดุที่ถูกคิดค้นขึ้นมาโดยองค์กร NASA เพื่อนำไปใช้กับระบบความปลอดภัยของเบาะรองนั่งบนเครื่องบิน ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการผลิตเข้ากับสินค้าหลาย ๆ ชนิด รวมถึงนำมาใช้ในการผลิตที่นอนเพื่อตอบสนองต่อน้ำหนักของร่างกายและปรับให้เข้ากับโครงสร้าง

ข้อดีของที่นอนเมมโมรี่โฟม

  • เป็นที่นอนที่มีคุณสมบัติระบายอากาศ
  • ช่วยระบายความร้อนได้ดี
  • มีโครงสร้างที่ช่วยปรับตัวให้เข้ากับแรงกดทับได้สูง
  • ช่วยโอบรับสรีระและน้ำหนักของร่างกายในแต่ละส่วน
  • ช่วยลดแรงกดทับที่เป็นหนึ่งในปัจจัยในการเกิดอาการปวดหลัง ปวดเอว นอน

ข้อเสียของที่นอนเมมโมรี่โฟม

  • เมมโมรี่โฟมมีน้ำหนักกว่าโฟมทั่วไป
  • ที่นอนเมมโมรี่โฟมเกรดตามท้องตลาดทั่วไปมักจะมีปัญหาในเรื่องของการสะสมอุณหภูมิความร้อน
  • ที่นอนเมมโมรี่โฟมที่พบได้ทั่วไป มักมีกลิ่นเหมือนยางล้อรถ

ข้อดี-ข้อเสีย-ของที่นอนแต่ละประเภท-ที่นอนสปริง

ที่นอนสปริง

ที่นอนสปริงหลักๆ จะแบ่งเป็น ที่นอนสปริงแบบ Bonnell Spring (บอนแนลสปริง) เป็นสปริงรูปแบบที่ยึดโยงกันเป็นโครงข่าย ด้วยความที่มีการร้อยเรียงที่แน่นเป็นหนึ่งเดียว และ ที่นอนสปริงแบบ Pocket Spring (พ็อคเก็ตสปริง) เป็นที่นอนสปริง ที่สปริงแต่ละตัวแยกอิสระออกจากกัน ไม่ได้เกาะติดกันเนื่อง ไม้ได้เชื่อมต่อกันด้วยลวดหรือเหล็ก โดยสปริงจะผูกอยู่ในถุงผ้าเป็นลูกๆ ติดกัน เรียงตัวอิสระ

ข้อดีของที่นอนสปริง

  • ที่นอนสปริงแบบ Pocket Spring ช่วยกระจายแรงกดทับไปตามสปริงแต่ละตัว ที่นอนจึงไม่นิ่มยวบเกินไป
  • ที่นอนสปริงแบบ Pocket Spring เมื่อปริงบางชิ้นชำรุดสามารถซ่อมแซมเฉพาะจุดได้
  • ช่วยซัพพอร์ตได้ดีเมื่อเป็นวัสดุที่ใช้ร่วมกับวัสดุที่นอนประเภทอื่นๆ
  • ที่นอนแบบ Bonnell Spring ราคาค่อนข้างถูก

ข้อเสียของที่นอนสปริง

  • เมื่อสปริงเสื่อมสภาพจะยุบตัว โดยเฉพาะบริเวณที่รองรับสะโพกผู้นอน
  • เมื่อสปริงเสื่อมสภาพจะยุบตัว ทำให้สปริงโผล่และเกิดอันตรายต่อการใช้งาน
  • ที่นอนสปริงที่ไม่ได้คุณภาพ อาจจะทำให้เกิดเสียงรบกวนในตอนนอนได้
  • มีโอกาสที่ขดลวดของสปริงล้มและทำให้รูปทรงของที่นอนผิดรูปไปได้
  • พับและม้วนไม่ได้มาก เพราะจะทำให้สปริงเสียหาย
  • ที่นอนแบบ Bonnell Spring เมื่อมีการขยับพลิกตัว อีกฝ่ายจะรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนทันที

ข้อดี-ข้อเสีย-ของที่นอนแต่ละประเภท-ที่นอนใยมะพร้าว

ที่นอนใยมะพร้าว

หลายคนคุ้นเคยกับที่นอนใยมะพร้าวเพราะเป็นที่นอนที่มักใช้ในหอพัก ที่นอนใยมะพร้าวมีกระบวนการผลิตมาจากการนำใยมะพร้าวมาผ่านการไล่ความชื้น อัดแน่นเข้าด้วยกันเป็นแผ่นอบด้วยความร้อน และนำไปผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ ที่นอนใยมะพร้าวมักจะเสริมฟองน้ำด้วยเพื่อเพิ่มความนุ่มนอนสบายมากขึ้น

ข้อดีของที่นอนใยมะพร้าว

  • ด้วยความที่เส้นใยมะพร้าวถูกอัดแน่นเป็นแผ่นจึงทำให้มีความหนาแน่น
  • โอกาสยุบตัวของที่นอนค่อนข้างต่ำ เหมาะกับคนที่ชอบนอนหงาย
  • มีความทนทานสูงมาก

ข้อเสียของที่นอนใยมะพร้าว 

  • มักจะเป็นที่นอนที่มีความแข็งจนเกินไป จนทำให้ปวดหลัง
  • ต้องเสริมด้วยวัสดุอื่นๆ เพื่อให้นอนสบายขึ้น เช่น ท็อปเปอร์
  • รองรับสรีระได้ไม่ดีนัก ด้วยความที่มีความหนาแน่นสูงและเป็นที่นอนที่มีความแข็งมากกว่า
  • เป็นแหล่งสะสมไรฝุ่นหรือตัวก่อภูมิแพ้ได้
  • เมื่อที่นอนเสื่อมสภาพ ใยมะพร้าวจะลุ่ยเป็นฝุ่นผง ส่งผลกระทบระบบทางเดินหายใจ

ข้อดี-ข้อเสีย-ของที่นอนแต่ละประเภท-ที่นอน-Lunio-Gen4

แล้วควรเลือกซื้อที่นอนแบบไหนดี ให้คุ้มค่าต่อการใช้งาน?

ด้วยความที่วัสดุที่ถูกนำมาใช้ในการผลิตที่นอนแต่ละชนิดมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาที่นอนที่นำเอาข้อดีของวัสดุแต่ละประเภท มารวมไว้ในที่นอนเดียวเพื่อกลบจุดที่เป็นข้อจำกัดของวัสดุนั้นๆ

ที่นอนยางพารา Lunio Gen 4 ผสานนวัตกรรม NASA แบบคูณ 4

เป็นที่นอนที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยนำเอาจุดเด่นของวัสดุแต่ละประเภทมาใช้ ด้วยคอนเซ็ปต์ที่นอนยางพาราผสานนวัตกรรม NASA แบบคูณ 4 เพื่อช่วยซัพพอร์ตคุณภาพการนอนให้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น

  • อัปเกรดคุณภาพวัสดุที่นอนแบบเดียวกับที่ใช้ในเทคโนโลยีอวกาศแบบ x4 
  • กระจายความเย็นดีขึ้น นอนสบายไปอีกขึ้น
  • พัฒนาคุณสมบัติที่นอนให้นอนสบาย ฟื้นฟูร่างกายได้ดีขึ้น
  • ปรับสมดุลของที่นอนให้พอดีกับร่างกาย เย็นสบายในระดับที่พอดีมากขึ้น
  • ช่วยกระจายน้ำหนักได้ดีขึ้น
  • ลดแรงสั่นสะเทือนขณะพลิกตัวได้ดีขึ้น
  • ช่วยลดการปวดหลังจากที่นอนได่ดียิ่งขึ้น
  • ป้องกันสิ่งสกปรกต่างๆ โดยเฉพาะไรฝุ่นที่จะมาสะสมในที่นอนขณะที่ไม่ได้ใช้งาน

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *


ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า