ช้อปที่นอนใหม่รับซัมเมอร์ เพื่อเติมเต็มความสบายให้คุณในหยุดยาวนี้ กับไอเทมลดสูงสุดกว่า50% ลดเพิ่มสูงสุดกว่า 1,000 บาท* วันนี้ – 27 เมษายน 2567 นี้เท่านั้น
logonew
ตะกร้าสินค้า

No products in the cart.

Return To Shop
0.00฿ 0
ระยะเวลาโปรโมชั่น 3.3 Mega Sale
วัน
ชั่วโมง
นาที
วินาที

ร้อนจนนอนไม่ได้ ทำไงดี? รวม 6 วิธีแก้บ้านร้อน ให้อยู่เย็น นอนสบาย ช่วยประหยัดค่าไฟ

รวม-6-วิธีแก้บ้านร้อน-ให้อยู่เย็น-นอนสบาย-ช่วยประหยัดค่าไฟ

บ้านร้อนเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาโลกร้อน บ้านอยู่ทางทิศที่โดนแดด การสะสมความร้อนจากวัสดุก่อสร้างบางชนิดที่ใช้ในการสร้างบ้าน ไม่มีช่องทางการระบายความร้อนออกจากบ้าน ซึ่งหลายคนน่าจะรู้สึกตรงกันว่าปีนี้เป็นปีที่อากาศร้อนเป็นพิเศษ ร้อนจนนอนไม่ได้ถ้าไม่เปิดแอร์ แถมค่าไฟยังแพงขึ้นอีก วันนี้เราจึงได้รวบรวมข้อมูล 6 วิธีแก้บ้านร้อน ให้อยู่เย็น นอนสบาย ช่วยประหยัดค่าไฟ..

แก้บ้านร้อน 

วิธีที่ 1 ทิศทางห้องเลี่ยงแสงบ่าย ช่วยลดความร้อนได้

ช่วงเวลาที่แดดแรง และค่าแสง UV สูงสุดของวันคือแดดช่วงบ่าย หรือตั้งแต่เที่ยงวัน จนถึง 16.00 น. ดังนั้น ทิศทางของบ้านโดยเฉพาะห้องที่เราต้องอยู่บ่อยๆ คือห้องรับแขกและห้องนอน ควรหลีกเลี่ยงการรับแสงแดดจากช่วงเวลานี้ และเลือกทิศทางที่รับแสงช่วงเช้าแทน เช่น ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศเหนือ ทิศใต้ ตัวอย่างเช่น

  • ทิศเหนือ รับแสงช่วงเช้าเวลาประมาณ 6.30 น. – 9.00 น. เหมาะกับเป็นทิศสำหรับห้องนอน เพราะรับแสงอ่อนๆ ไม่สะสมความร้อนในเวลากลางคืน แต่นอกจากทิศเหนือ ทิศตะวันออกก็เป็นอีกตัวเลือกสำหรับเป็นตำแหน่งห้องนอนที่ดีเช่นกัน
  • ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ รับแสงช่วงสาย เหมาะกับการเลือกเป็นห้องรับแขก ถึงแม้ช่วงสายของแดดบ้านเราก็เริ่มร้อนมากแล้ว แต่ไม่นานก็จะคล้อยไปตามช่วงเวลา และทิศนี้จะเป็นทิศที่ได้รับอิทธิพลของแดดช่วงบ่ายน้อย สามารถเปิดหน้าต่างเพื่อฆ่าเชื้อโรคภายในห้องได้
  • ทิศใต้เป็นทิศทางที่ลมโฟลวเข้าบ้าน เหมาะกับการปลูกต้นไม้กรองอากาศ หรือติดตั้งบ่อน้ำเพื่อให้ลมที่ผ่านทางนี้ พัดเอาอากาศที่บริสุทธิ์เข้าบ้าน

ปลูกต้นไม้บริเวณหน้าบ้าน แก้บ้านร้อน

วิธีที่ 2 ปลูกต้นไม้บริเวณหน้าบ้าน 

การปลูกต้นไม้ไม่เพียงแค่ช่วยเพิ่มร่มเงาให้กับบ้านเท่านั้น แต่ต้นไม้บางชนิดยังมีคุณสมบัติช่วยกรองอากาศหรือหรือกรองฝุ่นได้ดี โดยเฉพาะเมื่อปลูกทิศทางที่เป็นลมผ่านอย่างทิศใต้ ก็จะช่วยให้ลมที่ผ่านต้นไม้มีความเย็นสบายมากขึ้น แต่ก็ต้องระมัดระวังต้นไม้ที่ใหญ่เกินไปก็อาจจะกลายเป็นบดบังลมได้เช่นกัน ต้นไม้ที่ช่วยให้บ้านเย็นและกรองฝุ่น ได้แก่ ต้นยาง ต้นไทรน้อย ต้นหูกระจง ต้นจั๋ง ต้นหมากเหลือง มอนสเตอร่า ไทรใบสัก ลิ้นมังกร 
เลือกที่นอนที่มีคุณสมบัติเรื่องความเย็น

วิธีที่ 3 เลือกที่นอนที่มีคุณสมบัติเรื่องความเย็น

การเลือกที่นอนที่มีคุณสมบัติช่วยซัพพอร์ตเรื่องความเย็นก็เป็นอีกตัวเลือกที่ดีที่ช่วยลดความร้อนตอนนอนได้ดี การเลือกที่นอนเย็นสามารถดูได้จากวัสดุของที่นอน อีกหนึ่งวัสดุที่นิยมนำมาผลิตเป็นที่นอนช่วยเรื่องความเย็นก็คือ เมมโมรี่โฟม (Memory Foam) นวัตกรรม NASA ซึ่งแรกเริ่มเมมโมรี่โฟมเป็นวัสดุที่ถูกคิดค้นขึ้นมาโดยองค์กร NASA เพื่อนำไปใช้กับระบบความปลอดภัยของเบาะรองนั่งบนเครื่องบิน ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการผลิตเข้ากับสินค้าหลาย ๆ ชนิด รวมถึงนำมาใช้ในการผลิตที่นอนเพื่อตอบสนองต่อน้ำหนักของร่างกายและปรับให้เข้ากับโครงสร้าง ที่นอนที่มีเมมโมรี่โฟมเป็นส่วนประกอบจึงมักจะช่วยระบายความร้อนและกระจายความเย็นได้ดี

เปิดแอร์ควบคู่กับพัดลม-แก้บ้านร้อน

วิธีที่ 4 เปิดแอร์ควบคู่กับพัดลม

เปิดแอร์ 27 องศา พร้อมกับเปิดพัดลมตั้งพื้นควบคู่กัน ช่วยเพิ่มการเคลื่อนที่ของอากาศในห้อง ซึ่งวิธีใช้แอร์ดังกล่าวจะช่วยประหยัดค่าไฟลงได้ 10-30% ถึงแม้การเปิดแอร์เพียงอย่างเดียวสามารถทำความเย็นได้อย่างทั่วถึงเช่นเดียวกัน แต่หากพื้นที่ในห้องกว้างเกินไป ก็ส่งผลให้แอร์ทำงานหนักมากขึ้นทำให้เปลืองค่าไฟได้ แต่การเปิดแอร์ควบคู่กับพัดลม จะเป็นการช่วยกระจายความเย็น ช่วยลดอุณหภูมิลงได้ถึงประมาณ 2 องศาเลยทีเดียว โดยการจัดวางพัดลมควรวางในทิศทางที่คุณมักจะนั่ง หรือทำงาน ในขณะที่การวางแอร์ควรอยู่ในที่ที่สูง ซึ่งจะช่วยให้ลมเย็นสามารถไหลลง และกระจายไปทั่วห้องได้มากขึ้น

เลือกแอร์ให้เหมาะกับขนาดห้อง-แก้บ้านร้อน

วิธีที่ 5 เลือกแอร์ให้เหมาะกับขนาดห้อง

การเปิดแอร์ให้ประหยัดไฟ อีกสิ่งที่สำคัญคือการดูที่ค่า BTU/hr (British Thermal Unit per hour) ซึ่งเป็นหน่วยสากลที่ใช้วัดขนาดความเย็นของแอร์ จำนวน BTU สูง ก็ยิ่งมีความสามารถในการผลิตความเย็นได้มาก และมีประสิทธิภาพในการทำความเย็นในพื้นที่ขนาดใหญ่ขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็จะทำให้แอร์ใช้พลังงานในการทำความเย็นมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น การเลือกแอร์ให้เหมาะสมกับขนาดห้องช่วยให้คุณประหยัดค่าไฟได้

สูตรคำนวณค่า BTU

ค่า BTU = พื้นที่ของห้อง (ขนาดกว้าง x ยาว) x ระดับความแตกต่าง

*ระดับความแตกต่าง คือ ระดับความร้อนช่วงเวลากลางวันและกลางคืน ห้องที่ใช้ตอนกลางวัน มีระดับความต่างประมาณ 800 ห้องที่ใช้เฉพาะเวลากลางคืน มีระดับความต่างประมาณ 700

ตัวอย่าง

  • แอร์ 9,000 BTU : ห้องปกติ ขนาด 12-15 ตร.ม./ห้องโดนแดด ขนาด 10-14 ตร.ม.
  • แอร์ 12,000 BTU : ห้องปกติ ขนาด 16-20 ตร.ม./ห้องโดนแดด ขนาด 14-18 ตร.ม.
  • แอร์ 18,000 BTU : ห้องปกติ ขนาด 24-30 ตร.ม./ห้องโดนแดด ขนาด 21-27 ตร.ม.
  • แอร์ 21,000 BTU : ห้องปกติ ขนาด 28-35 ตร.ม./ห้องโดนแดด ขนาด 25-32 ตร.ม.

ใช้หลอดไฟ-LED-แก้บ้านร้อน

วิธีที่ 6 ใช้หลอดไฟแบบ LED ช่วยลดความร้อน

เคยไหมที่ยิ่งเปิดไฟในบ้านแล้วยิ่งรู้สึกร้อน เพราะหลอดไฟแบบเดิมมักจะแผ่รังสีความร้อนออกมามาก และความร้อนที่แผ่ออกมาจากหลอดไฟจนส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยเกิดความรู้สึกอากาศที่ร้อนมากขึ้นไปด้วย แต่หลอดไฟประเภท LED มีการแผ่ความร้อนออกมาเพียงแค่ 10% เท่านั้น การเลือกใช้หลอดไฟประเภทนี้จึงช่วยลดความร้อนภายในบ้านได้ดี นอกจากนี้ หลอดไฟ LED ยังเป็นหลอดไฟที่ช่วยประหยัดไฟมากที่สุด และปราศจากรังสียูวีที่ส่งผลเสียต่อสายตาหรือผิวหนัง เมื่อใช้ไปนานๆ จะมีปริมาณแสงลดลงเหลือเพียง 70% แต่ก็เป็นหลอดไฟที่มีอายุการใช้งานนั้นยาวนานโดยเฉลี่ยถึง 30,000-50,000 ชม.

ใช้ฟิล์มกรองแสง-แก้บ้านร้อน

วิธีที่ 7 ใช้ฟิล์มกรองแสง

เป็นที่ทราบกันดีว่าอากาศที่ร้อนขึ้นแบบนี้ แสงยูวีก็ยิ่งอันตรายต่อดวงตาและผิวหนัง ถึงแม้เราจะอยู่ในบ้านก็ใช่ว่าจะปลอดภัย การใช้ฟิล์มกรองแสงก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยได้ โดยอาจจะติดตั้งในส่วนที่เป็นบานประตูหรือหน้าต่างที่เป็นกระจก

  • ฟิล์มเข้ม 40 คือ ฟิล์มกรองแสงที่ยอมให้แสงส่องผ่านได้ 30-40 %
  • ฟิล์มเข้ม 60 คือ ฟิล์มกรองแสงที่ยอมให้แสงส่องผ่านได้ 15-20 %
  • ฟิล์มเข้ม 80 คือ ฟิล์มกรองแสงที่ยอมให้แสงส่องผ่านได้ 3-7 %
  • ฟิล์มใสกันร้อน คือ ฟิล์มกรองแสงที่ยอมให้แสงส่องผ่านได้ 70 %

ขอบคุณข้อมูลจาก

dreamstownstore.com

chinpower.net

www.jorakay.co.th

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า